top of page
7333240a-03ff-4aef-af3c-9def1f6abb18.jpg

ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อ บ้านใบบุญ

Baan Baiboon Tailue Lifestyle Center

ความสำคัญ

  • เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของคนไตลื้อ

  • เป็นเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

9f844441-0af9-428d-a2d9-f02c75bdb245.jpg

This is a learning center for the cultural intelligence and way of life of the Tai Leu people. It is a network of learning centers for cultural intelligence promoted by the Department of Cultural Promotion, Ministry of Culture. The learning center and activities in the Tai Leu Cultural Intelligence Learning Center, Ban Bai Boon, include the following:

  1. Heuan Tai Leu : Activities include welcoming guests, dining, living, and sleeping.

  2. Long Khao : Converted into a museum to exhibit valuable antique items.

  3. Krok Mong : Activities include pounding rice, making vegetable broth, and making crab paste.

  4. old well : Activities include water fetching and exploring beliefs.

  5. Khi Tho Pha : Activities include spinning, reeling, twisting, spinning, weaving, and dyeing fabrics.

  6. Backyard Garden : Activities include gardening and harvesting vegetables for cooking.

  7. mockup local food market : Activities include demonstrating various traditional dishes such as Khao Ji Bai Nam Phrik, Khai Pama, Kanom Wong, Soba Kuay Teow, Thai Traditional Herbal Drink, making Khao Taen, and stir-frying Tai Leu dishes.

  8. PhaM Lanna: Recreational activities include cart driving, Lanna-style cart driving, storytelling about the history of Tai Leu people, making Thai-style decorated bags and knowledge exchange.

ความเป็นมา

          นางพรรษา  บัวมะลิ หรือ ครูปุก (หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า “ป้าปุก”) เจ้าของศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อบ้านใบบุญ ที่ได้รับมรดกตกทอดเป็นบ้านและที่ดินผืนนี้มาจากบรรพชนคนไตลื้อ โดยมีหมื่นบุญเรือง วรพงษ์ (ติ๊บ บุญเรืองยา) และ แม่อุ๊ยนางแจ้  พ่ออุ๊ยป๊ก บุญชุ่มใจ พ่อน้อยเมืองแก้ว แม่อุ๊ยจันทร์ติ๊บ บัวมะลิ และคุณลุงพุทธ คุณป้าสุคำ  ยานะ ได้ยกเป็นมรดกให้ ซึ่งในบริเวณที่ผืนนี้ประกอบไปด้วย “มีข้าวในหลอง มีมองในผาม และมีน้ำในบ่อ (บ่อน้ำ)” ประกอบกับมีพ่อแม่และลุงป้าน้าอาที่ยังคงมีความรู้และประสบการณ์ในด้านวิถีชีวิตไตลื้อในอดีตและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

          โดยป้าปุกเกรงว่าวิถีและภูมิปัญญาดังกล่าวจะสูญหายไปตามกาลเวลา จึงได้ใช้บ้านของตนเองก่อตั้งเป็น “ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อบ้านใบบุญ” เพื่อให้เด็กนักเรียนและคนในชุมชน ตลอดจนผู้ที่สนใจได้มาศึกษาเรียนรู้ เพื่อการสืบทอดและอนุรักษ์ไว้ โดยใช้งบประมาณในการสรรสร้างของตนเองและครอบครัว ต่อมาศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ จึงได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเผยแพร่ให้แก่กลุ่มสถานศึกษาและบุคคลทั่วไป จนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในวงกว้าง   จนได้รับการคัดเลือกให้เป็น “เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม” ในเวลาต่อมา

          แหล่งเรียนรู้และกิจกรรมในศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อบ้านใบบุญ มีดังนี้

  1. เฮือนไตลื้อ  ทำกิจกรรมการต้อนรับแขก  การกิน  การอยู่  การนอน

  2. หลองข้าว  ทำเป็นพิพิธภัณฑ์เก็บของเก่าที่มีค่าเพื่อนำมาจัดแสดง

  3. ครกมอง  ทำกิจกรรมการตำข้าว  การทำน้ำผัก  และทำน้ำปู

  4. น้ำบ่อ  ทำกิจกรรมการตักน้ำ  และความเชื่อ

  5. กี่ทอผ้า ทำกิจกรรมการอีตฝ้าย ตีฝ้าย กิ๊กฝ้าย ปั่นฝ้าย ทอผ้า และการกล่อมลูก 

  6. สวนหลังบ้าน ทำกิจกรรมการเข้าสวนเก็บผักมาทำอาหาร 

  7. กาดหมั้ว ทำกิจกรรมการสาธิตอาหารแบบโบราญต่างๆ เช่น ข้าวจี่บ่ายน้ำพริก ไข่ป่าม ขนมวง โสะบะก้วยเต้ด น้ำสมุนไพรไตลื้อ การทำข้าวแต๋น และผัดไทไตลื้อ

  8. ผามล้านนา ทำกิจกรรมนันทนาการด้วยการขับซอ ขับลื้อ เล่าประวัติศาสตร์คนไตลื้อ ปรุลายไทยใส่ถุงย่าม และแลกเปลี่ยนความรู้

bottom of page