top of page
93d150a6-6fdd-4054-b5c0-46f82ef62d28_0.jpg

Pa Phan's Kao-Kab

ข้าวแคบป้าผัน

ความสำคัญ

  • เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านอาหารพื้นบ้านของคนไตลื้อ

7511774e-74f0-419a-a3ff-bc13568f9c2c.jpg

In the past, They baked Kao-Kab during Harvest Season. Local people will be cooked Kao-Kab from sticky rice. So, when They are done with Kao-Kab They will share Kao-Kab ,ate it and give it to the field owner. How to save Kao-kab They will use plastic bags. Because plastic bag is the best way to keep Kao-Kab always fresh.

  • Kao-Kab is the main food and snack.

  • Demonstration and making snacks from local materials.

  • Learning Station about local foods of Tailue people.

6abb464d-f68a-4cfd-8249-6b89ca93b6f7.jpg
8311c2f3-0b5c-4a3e-ad44-2cfb957c7b43.jpg

ความเป็นมา

          ด้วยภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของคนไตลื้อที่มีข้าวเป็นอาหารหลัก ทำให้ นางปิยวรรณ  บุญลา หรือ ป้าผัน ต้องการนำข้าวมาแปรรูปให้เป็นอาหารว่างหรือของขบเคี้ยวที่คนทุกเพศทุกวัยสามารถรับประทานได้ จึงได้ทำ “ข้าวแคบ” ขึ้น โดยป้าผันได้ย้อนรำลึกไปถึงอดีตเมื่อครั้งเป็นเด็ก ป้าผันได้ไปเล่นในผามข้าวแคบของ “แม่อุ๊ย” (ยาย) ที่ตั้งอยู่ข้างบ้านป้าผัน ทำให้ป้าผันได้ดู ได้รู้ และได้เห็น จนได้ซึมซับวิธีการทำข้าวแคบแบบไม่ได้ตั้งใจ ต่อมาหลังจากที่แม่อุ๊ยเสียชีวิตไปแล้ว ไม่มีใครได้ทานข้าวแคบอีกเลย

          ซึ่งแต่เดิมการทำข้าวแคบจะนิยมทำในฤดูกาลที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จใหม่ ๆ ชาวบ้านจะนำข้าวใหม่ที่เก็บเกี่ยวมาได้ไปให้กับคนทำข้าวแคบเพื่อแปรรูปจากข้าวเป็นข้าวแคบ เมื่อทำข้าวแคบเสร็จ คนทำข้าวแคบก็จะแบ่งเอาข้าวแคบนั้นมารับประทานส่วนหนึ่ง และนำไปมอบให้กับเจ้าของข้าวอีกส่วนหนึ่ง โดยวิธีการเก็บรักษาจะใช้ถุงพลาสติกมาหีบห่อเนื่องจากสามารถเก็บรักษาข้าวแคบไว้รับประทานได้นานเป็นปี ๆ และด้วยความที่ป้าผันอยากทานข้าวแคบ ป้าผันจึงได้ฝึกหัดและทดลองทำข้าวแคบตามแบบวิธีที่เห็นแม่อุ๊ยทำ

          จนในที่สุดความพยายามก็ประสบความสำเร็จได้ข้าวแคบที่มีรสชาติดี ทำให้ได้รับความนิยมจากเพื่อนบ้าน ตลอดจนชาวบ้านบ้านอื่น ๆ ทั้งที่อยู่ใกล้เคียงและไกลออกไปต่างมาขอซื้ออยู่เป็นประจำ นับแต่นั้นเป็นต้นมา ป้าผันจึงได้ยึดเอาภูมิปัญญานี้มาเป็นอาชีพเลี้ยงตัวและครอบครัวสืบไป

ขั้นตอนการทำข้าวแคบ

  1. นำข้าวเหนียวมาแช่ค้างคืนไว้ ๑ คืน

  2. รุ่งเช้า นำข้าวแช่มาล้าง แล้วโม่ให้ละเอียด

  3. นำข้าวที่โม่ จะได้เป็น “ข้าวแป้ง” แล้วนำข้าวแป้งมาเติมเกลือป่นและงาดำตามต้องการ

  4. จากนั้น ตักข้าวแป้งละเลงบนหม้อใบใหญ่ที่ขึงด้วยผ้าขาวบางตั้งบนเตาร้อน

  5. ใช้ไม้บางช้อนเอาข้าวแป้งที่จับตัวกันเป็นแผ่น เรียกว่า “ข้าวแคบ” ไปแผ่วางไว้บนไพคา แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง

  6. นำข้าแคบที่แห้งแล้วมาแอน (พิงไฟ) ด้วยถ่านร้อน ๆ พลิกไปมาทั้งสองด้านจนข้าวแคบสุก จึงจะสามารถนำไปรับประทานได้

The steps and methods for making Kao-Kab

  1. Soak sticky rice overnight for 1 night.

  2. In the morning, take the soaked rice and wash it, then grind it finely.

  3. Take the ground rice, which will become 'rice flour,' and then add salt and black sesame according to preference.

  4. Scoop the rice flour mixture onto a large steamer lined with a thin white cloth, and place it on a hot stove.

  5. Use a thin wooden spoon to shape the rice flour mixture into sheets called Kao-Kab,' and then place them on a tray to dry under the sun.

  6. Take the dried Kao-Kab and heat them over a hot charcoal fire, flipping them on both sides until the Kao-Kab is cooked. Then it can be ready for consumption.

bottom of page